Comments Off on ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี

คุณสมบัติ (สมรรถนะ)

          ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานสำหรับพนักงานใหม่

 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การป้องกันอันตรายจากรังสี ขั้นพื้นฐาน
           3 การจัดการบุคลากรทางรังสี อ้างอิงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ของบุคลากรทางรังสีตามเจตนารมณ์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ผู้รับผิดชอบดำเนินการทางเทคนิค เกี่ยวกับรังสี (เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี, RSO)

คุณสมบัติ (สมรรถนะ)

 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี อ้างอิงตาม D

หน้าที่ความรับผิดชอบ การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี
 การดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย
 การขออนุญาตทางรังสี
 การวางกฎ ระเบียบ ในการใช้รังสี
 การเก็บบันทึกและรายงาน
 การให้ความรู้ด้านการป้องกันอันตรายจากรังสี
 การตรวจพิสูจน์ (inspection)
 การตรวจสอบความปลอดภัยทางรังสี  (audit)
 การสอบสวนอุบัติการณ์ทางรังสี (investigation)
 การควบคุมการได้รับปริมาณรังสีของผู้ปฏิบัติงาน
 การบริหารจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอันตรายจากรังสี
 การบริหารจัดการทะเบียนวัสดุกัมมันตรังสีและเครื่องกําเนิดรังสี
 การตรวจวัดรังสีประจําตัวบุคคล
 การควบคุมความเปรอะเปื้อนทางรังสี
 ดําเนินการในกรณีเกิดเหตุผิดปกติหรือฉุกเฉิน

ขั้นตอนการแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติหน้าที่

1  เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรการป้องกันอันตรายจากรังสี ระดับที่ 1

2  สอบขึ้นทะเบียน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ระดับ ต้น/กลาง/สูง

ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีควบคุม สาขานิวเคลียร์

คุณสมบัติ (สมรรถนะ)

      ต้องผ่านการฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นทั้งภาคทฤษฎีและด้านปฏิบัติทางด้านรังสีนิวเคลียร์  ปฏิกิริยา
นิวเคลียร์  หลักการวัดรังสี  และหลักการป้องกันอันตรายจากรังสี  อย่างน้อยสามสิบชั่วโมง  จากสถาบัน
เทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ  หรือหน่วยงานที่สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีให้การรับรอง  หรือ…

เป็นผู้ผ่านการสอบเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี  อย่างน้อยระดับ
ที่สอง(ระดับกลาง) จากสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ  สํานักงานปรมาณูเพื่อสันติ  หรือหน่วยงาน
ที่สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้การรับรอง

หน้าที่ความรับผิดชอบ

 ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมต้องประพฤติตน ตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
ตามที่กําหนดใน

ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี

คุณสมบัติ (สมรรถนะ)

        ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานสำหรับพนักงานใหม่

 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การป้องกันอันตรายจากรังสี ขั้นพื้นฐาน

4การจัดการบุคลากรทางรังสี โดยอ้างอิงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

จากการจัดการบุคลากรทางรังสีในมุมมอง/เจตนารมณ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทุกท่านจะพบว่าทั้ง 2 ภาครัฐ
ต่างมุ่งเน้นให้นายจ้าง หรือผู้รับใบอนุญาตทางรังสีต้องจัดให้มีหน่วยงาน หรือองค์กร หรือ คณะทำงานเป็นผู้บริหารจัดการ
งานด้านความปลอดภัยทางรังสีโดยตรง ครอบคลุมทั้งการปฏิบัติงานภายในสถานประกอบการ และพื้นที่ปฏิบัติงานอื่นที่ไม่
ได้ระบุไว้ในใบอนุญาตทางรังสี

ในฐานะของผู้ที่ถูกควบคุมกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามกฎหมาย คงไม่สามารถเลือกปฏิบัติแต่เพียงข้อกำหนดเพียงกฎหมาย
ฉบับใด ฉบับหนึ่ง ดังนั้นการปรับตัว และประยุกต์ใช้ให้เกิดการจัดการที่สอดคล้องต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ทั้งนี้ เราต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า การบริหารจัดการงานด้านความปลอดภัยฯ ไม่ใช่การมอบหมายงาน ให้ “คน”
หรือ “ตำแหน่ง”  การบริหารจัดการฯ คือการสร้างระบบที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวของมันเอง มีความหลากหลายของบุคลากร
มีความหลากหลายของขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างมิติในการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ให้มากที่สุดครับ

Share

TOP

X